Page 104 - Royal-Duties2559
P. 104
และจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ ในโอกาสนี้ ประทับแรม ณ เรือนรับรองที่ประทับ สำานัก
ชลประทานที่ ๖ อำาเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
เวลา ๐๙.๒๒ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จ
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำาปีการศึกษา ๒๕๕๗ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำาเภอวารินชำาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า บัณฑิต
เมื่อศึกษาเล่าเรียนมาจนมีความรู้ในระดับสูง แต่ละคนย่อมมีความเชื่อมั่นอยู่ ว่าจะสามารถประกอบกิจการงานให้บรรลุ
ผลสำาเร็จได้ แต่แท้จริง การมีความรู้สูงก็ไม่ได้เป็นหลักประกันความสำาเร็จของงานเสมอไป เพราะหากนำาความรู้ไปปรับใช้
ไม่เป็นแล้ว ก็คงยากที่จะทำางานให้สำาเร็จผล ในการนำาความรู้ไปปรับใช้ให้ได้จริงนั้น บัณฑิตจะต้องศึกษางานที่ทำาให้เข้าใจ
ถ่องแท้ก่อน ว่างานนั้นมีลักษณะอย่างไร เป้าหมายของงานคืออะไร ขอบเขตและวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างไร เพื่อให้ทราบว่า
ควรจะใช้ความรู้ใดบ้างในการปฏิบัติ แล้วนำาความรู้ดังกล่าวมาใช้ประกอบส่งเสริมกันให้พอเหมาะพอดีแก่งาน การจะทำา
ให้ได้ดังนี้ แต่ละคนต้องมีใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะเรียนรู้ทำาความเข้าใจงาน และประสานเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
โดยไม่คับแคบยึดติดอยู่กับแนวคิดหรือทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง จนลดทอนความสามารถในการนำาความรู้ไปปรับใช้ให้เหมาะสม
บัณฑิตทั้งหลายต่างก็มีความรู้พร้อมอยู่แล้ว จึงควรที่จะฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้มีใจเปิดกว้าง จะได้สามารถนำาความรู้
ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติกิจการงาน เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตน แก่งาน และแก่ส่วนรวมได้แท้จริง
เวลา ๑๔.๐๒ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จ
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยนครพนม ประจำาปีการศึกษา ๒๕๕๗ ณ ศาลาประชาคมยงใจยุทธ ศาลากลางจังหวัดนครพนม
อำาเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า บัณฑิต
ทั้งหลายสามารถศึกษาเล่าเรียนในระดับสูงจนสำาเร็จการศึกษาอย่างเต็มภาคภูมิ ย่อมได้รับความนิยมยกย่องจากคนทั่วไปว่า
เป็นผู้มีสติปัญญาดี คำาว่า “สติปัญญา” นี้ เมื่อได้ฟัง ก็ชวนให้คิดไปว่าหมายถึงการมีความรู้ดีมีความสามารถสูง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งความรู้ความสามารถทางวิชาการ แต่แท้จริง คำาคำานี้มีความหมายลึกซึ้งมาก เพราะประกอบขึ้นจากคำาว่า “สติ” กับ
“ปัญญา” สตินั้น คือความระลึกรู้ตัวอันก่อให้เกิดความยั้งคิด ส่วนปัญญา คือความเฉลียวฉลาดรู้แจ้งชัดในสิ่งต่าง ๆ
รวมความแล้ว “สติปัญญา” หมายถึง ความเฉลียวฉลาดที่จะหยุดคิดพิจารณาการกระทำาและคำาพูดของตน ให้เป็นไปโดย
ถูกต้องเที่ยงตรงตามกระบวนการของเหตุและผล คือพิจารณาได้ว่าสิ่งที่จะทำา คำาที่จะพูดนั้น พูดและทำาไปเพราะอะไร
เพื่ออะไร และจะก่อให้เกิดผลอย่างไรตามมา ผู้มีสติปัญญาแท้จริง จึงสามารถตัดสินการกระทำาของตนได้ถูกต้อง ว่าเป็นสิ่ง
ที่สมควรหรือไม่ ผิดชอบชั่วดีอย่างไร เมื่อตัดสินได้ ก็ย่อมจะกระทำาแต่สิ่งที่สุจริตและมีประโยชน์ยั่งยืน ไม่กระทำาความทุจริต
อันก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น จึงขอให้บัณฑิตทุกคนนำาสิ่งที่พูดนี้ไปคิดพิจารณาให้เข้าใจ แล้วเร่งปฏิบัติ
ฝึกตนให้เป็นผู้มีสติปัญญาตามความหมายที่แท้
92