Page 133 - Royal-Duties2559
P. 133

วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙


                       เวลา ๑๗.๐๙ น.  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง
                จากวังสระปทุม ไปในการพระราชทานเพลิงศพ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โสภณ  ลัดพลี ม.ว.ม.,ป.ช.,ภ.ป.ร.๔

                ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

                       เวลา ๑๕.๓๕ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอก ชุมพล

                ปัจจุสานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในงานการแข่งม้านัดพิเศษชิงถ้วยพระราชทาน “จักรี” ครั้งที่ ๓๙
                ประจำาปี ๒๕๕๙ และมอบถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะเลิศ ณ สมาคมราชกรีฑาสโมสร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร




                วันจันทร์ ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๙


                       เวลา ๐๘.๐๖ น.  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง

                จากวังสระปทุม ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำาเภอเมืองชลบุรี และอำาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่
                ๒๕ - ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙ ในโอกาสนี้ ประทับแรม ณ โรงแรมเคปราชา อำาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

                       เวลา ๐๙.๐๐ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้  สมเด็จ

                พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จ

                การศึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพา ประจำาปีการศึกษา ๒๕๕๗ ณ อาคารหอประชุมธำารง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวันที่ ๑

                       ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า บัณฑิต
                เมื่อสำาเร็จการศึกษาแล้ว ก็ย่อมปรารถนาจะสร้างอนาคตที่ก้าวหน้ามั่นคงต่อไป ด้วยการประกอบกิจการงานให้สำาเร็จผล

                แต่การจะทำาได้ดังที่กล่าว แต่ละคนจำาเป็นต้องมีความรู้ที่สำาคัญสามประการ ประการแรก ความรู้ในหลักวิชา คือหลักการ
                และทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งในศาสตร์ที่บัณฑิตได้ศึกษาเล่าเรียนมาและในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการ

                ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ประการต่อมา ได้แก่ ความรู้ในระบบการทำางานและผู้ร่วมงาน กล่าวคือ ในด้านระบบ

                การทำางาน แต่ละคนจะต้องศึกษานโยบายและเป้าหมายขององค์กร ระเบียบปฏิบัติที่จำาเป็นแก่งานนั้น ๆ ตลอดจนวิธีการ
                ปฏิบัติงานให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถเลือกสรรความรู้ที่เหมาะกับงานมาปรับใช้ให้งานที่ทำาสำาเร็จผลสมบูรณ์ตามเป้าหมายได้

                ส่วนในด้านผู้ร่วมงาน บัณฑิตพึงรู้จักและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งความรู้ความสามารถและอัธยาศัยใจคอ
                เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจการงานให้ประสานสอดคล้องกันได้อย่างราบรื่น ประการสุดท้าย ความรู้เรื่องสังคมและวัฒนธรรม

                อันได้แก่ แบบแผนในการดำารงชีวิต ภูมิปัญญา ความคิดความเชื่อ ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
                ที่ปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำาให้สามารถปฏิบัติและพัฒนางานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ ได้ จึงขอให้บัณฑิตทุกคน

                เร่งขวนขวายเพิ่มพูนความรู้ทั้งสามประการที่กล่าวมานี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ จะได้สามารถปฏิบัติกิจการงานทุกอย่างให้บรรลุ

                ถึงความสำาเร็จ เป็นประโยชน์เป็นความเจริญอันยั่งยืนทั้งแก่ตน แก่สังคม และแก่ประเทศชาติได้สืบไป







                                                              121
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138