Page 37 - Royal-Duties2559
P. 37

เวลา ๑๑.๑๐ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้  สมเด็จ
                พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์ ไปทรงเปิดโครงการอ่างเก็บนำ้าคลองหลวง

                รัชชโลทรอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ อำาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

                       เวลา ๑๗.๒๖ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้  สมเด็จ
                พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

                พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์  วัฒนาภา รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

                ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำา ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำาปี ๒๕๕๘ เฝ้าทูลละอองพระบาท
                รับพระราชทานรางวัล ฯ ดังนี้

                       - ศาสตราจารย์ นายแพทย์มอร์ตัน เอ็ม. โมเวอร์ (Professor Doctor Morton M. Mower) ศาสตราจารย์

                อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เมืองบอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์ และศาสตราจารย์สรีรวิทยา
                และชีวฟิสิกส์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโฮเวอร์ด กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เฝ้าทูลละอองพระบาท

                รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ในฐานะเป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ชนิดฝัง

                ในร่างกาย หรือเอไอซีดี (AICD: Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) และเป็นผู้คิดค้นหลักของ
                เครื่องรักษาหัวใจด้วยวิธีให้จังหวะ หรือซีอาร์ที (CRT: Cardiac Resynchronization Therapy) ขณะทำาการวิจัยโครงการ

                ยาหลอดเลือดหัวใจ ณ โรงพยาบาลไซนาย เมืองบอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ๒๕๑๒ ได้ร่วมกับ
                นายแพทย์มิเชล  มิโรวสกี แพทย์ชาวอิสราเอล คิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยี

                และอุปกรณ์สำาคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปรกติชนิดวีเอฟ (VF = Ventricular Fibrillation)
                และวีที (VT = Ventricular Tachycardia) ซึ่งอาจนำาไปสู่การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจได้ เครื่องกระตุก

                หัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกายผู้ป่วย สามารถทำางานได้ทันทีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปรกติ โดยไม่จำาเป็น

                ต้องอาศัยเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดภายนอก ทำาให้ลดอัตราการตายจากภาวะดังกล่าวได้มาก แนวคิดของอุปกรณ์นี้เริ่มต้น
                เมื่อปี ๒๕๑๒ และมีการฝังเข้าในร่างกายผู้ป่วยเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๒๓ ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๗ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้

                โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาทางคลินิกในหลายสถาบัน พบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถ
                ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปรกติในผู้ป่วยโรคหัวใจได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว

                ปัจจุบันมีการฝังอุปกรณ์นี้ประมาณปีละ ๒๐๐,๐๐๐ คน และมีผู้ใช้อุปกรณ์นี้แล้วประมาณ ๒ - ๓ ล้านคนทั่วโลก
                มีประสิทธิภาพในการแก้ไขความผิดปรกติของการเต้นหัวใจสูง ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยที่รอดชีวิต

                มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย

                       - เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir Michael Gideon Marmot) ผู้อำานวยการสถาบันความเป็นธรรม

                ด้านสุขภาพ และศาสตราจารย์ระบาดวิทยา ภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข ยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน มหาวิทยาลัย
                ลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายกแพทยสมาคมโลก เฝ้าทูลละอองพระบาท รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

                สาขาการสาธารณสุข ในฐานะมีผลงานสำาคัญด้านการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาอย่างเป็นระบบ มานานกว่า ๓๕ ปี โดยเน้น
                เกี่ยวกับบทบาทของเชื้อชาติ วิถีการดำาเนินชีวิต เศรษฐฐานะ ความไม่เท่าเทียมกัน ปัจจัยทางสังคม และสิ่งแวดล้อม



                                                               25
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42